ช่วงนี้กระแสความนิยมในการเรียนภาษาจีนกำลังมาแรง นักเรียนไทยไปเรียนภาษาจีนที่ต่างประเทศเริ่มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยคนที่มีโครงการจะไปเรียนภาษาจีนคงจะต้องตั้งคำถามในใจว่า จะไปเรียนที่ไหนดี นี่คือคำถามที่ผมต้องตอบเป็นประจำ

1. คนที่ยังไม่เคยเรียนหรือไม่มีพื้นฐานความรู้ภาษาจีนเลย

ขอแนะนำเรียนในเมืองไทยก่อน อย่าเพิ่งไปเลย อ้อ ไม่ให้กำลังใจนี่หว่า เปล่าครับ เพราะถ้าคุณยังพูดอะไรไม่ได้ ไปนับหนึ่งใหม่ที่ต่างแดนคงยุ่งยากพอสมควร ทั้งเรื่องการเรียนและชีวิตความเป็นอยู่ พูดถึงเฉพาะด้านการเรียน คุณไปถึงที่นั่นต้องเผชิญกับปัญหาสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนอย่างแน่นอน กล่าวคือ ทางต่างประเทศคงต้องใช้ภาษาที่สาม ซึ่งคงเป็นภาษาอังกฤษมาสอนภาษาจีน ถ้าคุณเก่งภาษาอังกฤษอยู่แล้วคงช่วยได้เยอะ ไม่งั้นคงเป็นเรื่องที่หนักใจ แต่ถ้าเรามองในอีกแง่มุมหนึ่ง

ในโลกนี้มีระบบการเขียนอยู่สองประเภท คือ

1. ระบบการเขียนที่แสดงการออกเสียง ระบบการเขียนของภาษาเกือบทุกภาษาในโลกใช้ระบบการเขียนประเภทนี้ ซึ่งเป็นระบบการเขียนที่แสดงการออกเสียงโดยตรงถ้าเรียนตัวอักษรครบแล้วก็จะออกเสียงได้เกือบทั้งหมด (ถึงแม้อาจจะยังไม่รู้ความหมายก็ตาม) แต่รูปร่างของตังอักษาไม่ได้แสดงความหมายแต่อย่างใด อย่างเช่นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

2. ระบบการเขียนที่แสดงความหมาย ประเทศหรือชนเผ่าที่ใช้ระบบการเขียนประเภทนี้มีน้อยมาก เช่น จีน อียิปต์ และชนเผ่าเล็ก ๆ บางเผ่าที่ไม่เป็นที่รู้จักกันของคนทั่วไป(แต่อียิปต์ได้หันมาใช้ระบบการเขียนที่แสดงการออกเสียงมานานแล้ว) ระบบการเขียนประเภทนี้อาศัยรูปร่างของตัวอักษรแสดงความหมาย คือในช่วงแรก ตัวอักษรแต่ละตัวเกิดจากการวาดภาพ ซึ่งเราเรียกว่า อักษรภาพ (象形文字 xiàngxíngwénzì)แต่ตัวอักษรเองไม่ได้แสดงให้เห็นว่าควรจะออกเสียงอย่างไร

 

 

汉语 หรือ 中国话 ต่างก็แปลว่าภาษาจีน ซึ่งเป็นภาษาของชนชาติฮั่นหรือชาวฮั่น แต่สำเนียงในการพูดภาษาจีนในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันอย่างมาก สำเนียงที่ใช้อยู่ในแต่ละพื้นที่เราเรียกว่า 方言 (fāngyán)แปลว่าภาษาท้องถิ่น

ปัจจุบันนี้เราสามารถแบ่งภาษาจีนให้เป็นภาษาท้องถิ่น 7 ภาษาหลักด้วยกันตามระบบการออกเสียงดังนี้

 

คนไทยเราได้เปรียบมาก ๆ ในการเรียนภาษาจีน การที่จะเรียนให้ถึงขั้นที่พอจะพูดได้ในเรื่องราวทั่วไปที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันและการทำงานนั้นค่อนข้างง่าย เพราะในขั้นนี้ยังถือว่าเป็นภาษาพูด (口语 kǒuyǔ) เกือบทั้งหมด และส่วนที่คล้ายคลึงกันระหว่างภาษาจีนกับภาษาไทยจะช่วยเราได้เยอะ ท่านจะไม่รู้สึกว่าการเรียนการใช้ภาษาจีนจะฝืนความเคยชินในการใช้ภาษาแม่ของตน คือภาษาไทยมากเกินไป แต่ถ้าถึงขั้นที่จะนำเอาความรู้ภาษาจีนมาทำมาหากินหรือประกอบอาชีพนั้น คงต้องใช้ความขยัน ความพยายาม และความอดทนพอสมควร เพราะระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับภาษาเขียน (书面语 shūmiànyū) เยอะมาก มันเป็นส่วนที่สืบทอดมาจากภาษาจีนโบราณ ซึ่งมีระบบการเขียนที่สมบูรณ์แบบและใช้มาแล้วไม่ต่ำกว่า 4000 ปี คำพูดและสำนวนต่าง ๆ ยังตกตะกอนอยู่ในภาษาเขียนของปัจจุบันนี้เป็นจำนวนมาก

หากเรียกกันในหมู่เพื่อนฝูงที่มีแซ่ซ้ำกันก็อาจจะแยกแยะได้โดยการเติม คุณศัพท์แสดงรูปร่างลักษณะเช่น  “เฝยจาง” แปลว่าจางอ้วน   “โซ่วจาง” แปลว่าจางผอม “เฮยจาง” แปลว่า จางดำ   “ไป๋จาง” แปลว่าจางขาว  “เกาจาง” แปลว่า จางสูง   หรือ  “ไอ่จาง” แปลว่า จางเตี้ย   และถ้ามีจางเตี้ยหลายคน ก็อาจเติมคำคุณศัพท์เพิ่มเข้าไปอีก เช่น  “เฝยไอ่จาง” หมายถึง จางเตี้ยคนอ้วน   หรือ “เฮยไอ่จาง” จางเตี้ยคนดำก็เป็นได้ ไม่ถือสากัน

ส่วน ชื่อตัวของคนจีนมักมีสองพยางค์  ที่เป็นชื่อพยางค์เดียวก็มีบ้าง  แต่ที่เกินสองพยางค์นั้นจะมีน้อยมาก เมื่อชาวจีนติดต่อค้าขายกับชาวตะวันตก  ชื่อภาษาจีนบางครั้งก็ยากต่อการออกเสียงและจดจำสำหรับพวกฝรั่งมังค่า  คนจีนยุคใหม่ที่ต้องการโกอินเตอร์ก็เลยต้องมีชื่ออย่างฝรั่ง  เช่น  บรู๊ช  ลี  (ชื่อจีนอย่างเป็นทางการว่า  ลีเสี่ยวหลง  แปลว่า  ลีมังกรน้อย)  แจ๊กกี้  ชาน  (ชื่อจีนว่า  เฉินหลง  แปลว่า  เฉินมังกร) ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเรียกขานแต่ชื่ออย่างทางราชการก็จะยังคงเป็นชื่อ จีน

เชื่อ ไหมคนจีน 1,300  ล้านคนในประเทศจีนนั้นร่วมกันใช้แซ่ตระกูลใหญ่ๆ เพียงประมาณ  100  แซ่ ทำให้เกิดการสับสนในการแยกแยะตัวบุคคล  จนหลายๆ ครั้งกลายเป็นความวุ่นวายโกลาหล  โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ จะปรากฏผู้คนที่ใช้แซ่และชื่อเดียวกันจำนวนมาก เช่น ในกรุงปักกิ่งมีคนใช้แซ่เดียวกันมากกว่า 5,000  คน และมีชื่อซ้ำกันว่า “ฉางลี” กับอีก 5,000 คน ที่ใช้ชื่อเดียวกันว่า  “หลิวฮุย” หลายครั้งนำไปสู่การจับกุมผิดตัว หนังสือพิมพ์รายงายข่าวผิดคน บัญชีเงินฝากในธนาคารสับกัน ถึงขนาดโรงพยาบาลผ่าตัดคนไข้ผิดตัวก็เกิดขึ้นบ่อยๆ

ที่ เล่ามายังไม่นับรวมชื่อและแซ่ของชาวจีนโพ้นทะเลที่มีอยู่นับล้านๆ คน ในเกือบทุกมุมโลก จากการสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า  ประชากร 1,300  ล้านคน  ในประเทศจีน  มีแซ่ทั้งหมดรวมกัน  3,100  แซ่  ที่น่าสนใจก็คือ 99.4 %  ของคนเหล่านี้ร่วมกันใช้แซ่ใหญ่ๆ อยู่เพียง 500 แซ่ และมีประชากรจีนถึงหนึ่งในสี่ คือประมาณ 350  ล้านคน  ที่ใช้แซ่ใหญ่ๆ ร่วมกันเพียง  5  แซ่   ได้แก่  ลี  หวัง   จาง  หลิว  และ  เฉิน

คน จีนยุคโบราณนั้นเพียงมองดูแซ่ก็จะรู้รากที่มาที่ไป  แซ่ใหญ่ๆ หลายแซ่นั้นมีประวัติย้อนไปได้กว่า  4,000  ปี  และผู้สืบทอดแซ่ก็ต่างมีความภาคภูมิใจในการใช้แซ่ของบรรพชน ซึ่งมีอยู่  7  ตระกูลใหญ่  ที่มีประวัติย้อนไปถึงราชวงศ์ซ่ง  คือ  แซ่ลี  (หรือหลีหรือลี้)  แซ่หวัง  (หรือวองหรืออึ้ง)   แซ่จาง (หรือเตียหรือเตียว)  แซ่หลิว (หรือเล้าหรือหลำ)  แซ่เฉิน  (หรือเชนหรือตั้ง)  แซ่หยาง  (หรือเอี๊ยหรือหย่อง) และแซ่เจ้า  (หรือเจาหรือจิว)  ใครที่เคยคิดว่าคนจีนนั้นไร้รากหรือไม่มีหัวนอนปลายตีนคิดใหม่ได้นะ

แล้ว แซ่ไหนล่ะที่ใหญ่ที่สุด เชื่อกันว่าแซ่ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลกน่าจะเป็นแซ่หวังหรือแซ่อึ้งนั่น แหละ   เฉพาะในประเทศจีนประเทศเดียว  ก็มีคนแซ่หวังมากกว่า  100 ล้านคน  แต่จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากรจีนเมื่อเร็ว ๆ นี้  พบว่าแซ่จางได้แซงขึ้นหน้าไปเล็กน้อย โดยมีคนจีนแซ่จางมากที่สุดในประเทศ (แสดงว่าคนแซ่จางขยันทำการบ้านมากกว่าแซ่หวัง)  อันดับ 3 ได้แก่   แซ่ลี
สรุปว่า 'แซ่จาง' คือตระกูลที่ใหญ่ที่สุดในวันนี้